โครงการพัฒนากำลังคนในด้าน AI Literacy: การสร้างแอปพลิเคชันด้วย AI บนแอนดรอยด์กับอาษาเฟรมเวิร์ค

(v.102 - 2020_11_13, update info)
(v.101 - 2019_1_6, update info)
(v.100 - 2018_12_25, spawn course syllabus)

Official Website:
https://sarosworld.com/1daycourse

ชื่อคอร์สออนไลน์: โครงการพัฒนากำลังคนในด้าน AI Literacy: การสร้างแอปพลิเคชันด้วย AI บนแอนดรอยด์กับอาษาเฟรมเวิร์ค

บทสรุปผู้บริหาร
อบรมการสร้างแอปพลิเคชันด้วย AI บนแอนดรอยด์กับอาษาเฟรมเวิร์ค เรียนรู้ทฤษฎีและหลักการพื้นฐานของการสร้างแอปพลิเคชันในยุค 5G และนำ AI มาเป็นผู้ช่วยในการทำงานเพื่อให้เกิดเป็นผลลัพธ์เป็นแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วกว่าวิธีปกติ 50% อีกทั้งยังสามารถขายแอปพลิเคชันนี้ไป 149 ประเทศทั่วโลกผ่าน Goole Play Store

ฟีดแบกจากผู้สร้างและใช้งานแอปพลิเคชันด้วย AI บนแอนดรอยด์กับอาษาเฟรมเวิร์ค
1. นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://youtu.be/8KeWz0VB16U (3.52)
2. นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี https://youtu.be/ecciYfecGRQ (2.04)
3. วิสาหกิจชุมชนและบริษัทต่างๆ https://youtu.be/4ixJbWYlL0s (1.52)

หลักการและเหตุผล
  ในปัจจุบัน AI หรือปัญญาประดิษฐ์ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันและการทำงานของคนทั่วโลกมากขึ้น ทำให้การ UpSkill และ Reskill ในด้าน AI Literacy เป็นสิ่งที่มีความสำคัญโดยเฉพาะการใช้แพลตฟอร์มประยุกต์เข้ามาช่วยในการสร้างแอปพลิเคชันบนระบบแอนดรอยด์
  แอนดรอยด์คือระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์เคลื่อนที่ครองตลาดทั่วโลกมากกว่า 76% (iOS 19%) และมีการวิเคราะห์ตัวเลขในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สูงถึง 205 พันล้านครั้ง จากตัวเลขดังกล่าวทำให้เห็นถึงโอกาสและความสำคัญที่จะสร้างรายได้ให้กับผู้พัฒนาในตลาดส่วนนี้ได้อย่างดี
  แต่ปัญหาของการสร้างแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่โดยเฉพาะแอนดรอยด์นั้นมีขั้นตอนมากมายที่ซับซ้อนตั้งแต่กระบวนการพัฒนาแรกเริ่มจนไปถึงการนำแอปพลิเคชันขึ้นไปจำหน่ายบน Google Play Store ทำให้เกิดข้อจำกัดอยู่กับกลุ่มนักพัฒนาแอปพลิเคชันจำนวนไม่มากนักโดยเฉพาะในประเทศไทย ทางผู้จัดอบรมเล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความตั้งใจที่จะนำ AI เข้ามาลดข้อจำกัดและความยุ่งยากต่างๆเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุด โดยเพียงแค่ใช้โปรแกรมโฟโตช้อปในการสร้าง UX/UI จากนั้นนำแอปพลิเคชันที่ได้ไปผ่านโปรแกรมอาษาเฟรมเวิร์คแล้วนำขึ้นจำหน่ายบน Google Play Stote ได้ทันทีใน 149 ประเทศทั่วโลก
  ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงการพัฒนากำลังคนในด้าน AI Literacy ในครั้งนี้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนากำลังคนในด้าน AI Literacy ในด้านการสร้างแอปพลิเคชัน
2. เพื่อเข้าใจหลักการของการใช้ AI มาช่วยสร้างแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์
3. เพื่อเข้าใจหลักการของเครื่องมือโฟโตช้อปกับอาษาเฟรมเวิร์คในการสร้าง UX/UI
4. เพื่อสร้างแอปพลิเคชันขึ้นไปจำหน่ายบนกูเกิ้ลเพล์สโตร์ใน 149 ประเทศทั่วโลก

การอบรมนี้เหมาะสำหรับใคร
1. นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการสร้างรายได้ด้วยการสร้างแอปพลิเคชันนำไปจำหน่ายบนกูเกิ้ลเพล์สโตร์
2. ผู้ที่สนใจอยากสร้างแอปเป็น Start-up เป็นของตัวเอง
3. ผู้ที่ต้องการเรียนรู้การสร้างแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ด้วยโฟโตช้อปและอาษาเฟรมเวิร์ค
4. ผู้ที่ต้องการเรียนรู้ภาษาโปรแกรมมิ่งใหม่

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม
1. มีทักษะการใช้งานโปรแกรมโฟโตช้อปได้ดี (ใช้สำหรับออกแบบ UX/UI)
2. มีทักษะการใช้งานโปรแกรม Window Explorer ได้ดีมากโดยเฉพาะเข้าใจการสร้างไฟล์, สร้างโฟลเดอร์, คัดลอก, ตัด และวางไฟล์
3. มีทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ดี ใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ในการควบคุมคอมพิวเตอร์ได้ดีมาก
4. มีความรู้การใช้งานอินเตอร์เน็ตดีมาก
5. หากมีทักษะในการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นหรือมีการคิดเชิงตรรกะจะช่วยในการสร้างแอปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น (แนะนำ)

จำนวนผู้เข้าอบรม
ไม่น้อยกว่า 20 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการอบรม
1. ผู้เข้าอบรมต้องเตรียมคอมพิวเตอร์มาเองและติดตั้งโปรแกรมดังต่อไปนี้ให้เรียบร้อยก่อนเริ่มอบรม
  1.1 ระบบปฏิบัติการวินโดว์ 7 (64Bit) หรือใหม่กว่าเท่านั้น (MacOS ใช้ผ่าน VMWare)
  1.2 โปรแกรมโฟโตช้อป
  1.3 โปรแกรมอาษาเฟรมเวิร์ค
  1.4 โทรศัพท์มือถือระบบแอนดรอยด์พร้อมสายชาร์จยูเอสบีเคเบิ้ล (ที่ส่งข้อมูลได้) หรือใช้โปรแกรมอีมูเลเตอร์แอนดรอยด์ชื่อ BlueStacks หรือ Nox (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
2. สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมโฟโตช้อปฟรีได้ที่ (ใช้งานฟรี 7 วัน)
https://www.adobe.com/products/photoshop/free-trial-download.html
3. สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมอาษาเฟรมเวิร์ค SDK ได้ฟรีที่ www.arsa.ai
  3.1 ไปที่ไอคอน Download และทำการติดตั้ง
  3.2 มีตัวอย่างการใช้งานอาษาเฟรมเวิร์คมากกว่า 70 พร้อมซอร์สโค้ดที่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้ทันทีบน Github
  3.3 คอร์สนี้ต้องการโปรแกรม ARSA Studio และ Redeem Code เพื่อเข้าใช้งาน AI ในการสร้างแอปพิลเคชัน

สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างรายได้และจำหน่ายแอปผ่านกูเกิ้ลเพล์สโตร์ (ไม่บังคับ)
1. ลงทะเบียนเป็น Google Play Developer account ในราคา 25 เหรียญสหรัฐครั้งเดียวตลอดชีพ (ใช้ได้ 48 ชม.หลังจ่ายเงิน)
https://support.google.com/googleplay/android-developer/answer/6112435?hl=th
2. ผูกบัญชีธนาคารของท่านไว้กับ Google Play Developer account ให้เรียบร้อย (ดูรหัส SWIFT BIC ได้ที่เว็บไซต์ธนาคารของท่าน)

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับในระหว่างการอบรมมีดังต่อไปนี้
1. คอร์สเรียนออนไลน์ 
    1.1 แถมฟรีคอร์สเรียนออนไลน์ 12 ชั่วโมงกับ Udemy - ARSA Framework: Master of ARSA Script (สำหรับผู้ที่สนใจเรียนอาษาเฟรมเวิร์คเพิ่มเติม)
    https://www.udemy.com/arsa-framework-master-of-arsa-script
    1.2 แถมฟรีอาษาเฟรมเวิร์ค API Reference - ARSA Script Help
   
https://sarosworld.com/ARSScriptHelp
2. รับฟรีแพ็คเกจอาษาเฟรมเวิร์ค 1 เดือนมูลค่า $49.99

หัวข้อการเรียน
1. หลักการพื้นฐานของการสร้างแอปและ UX/UI https://youtu.be/A72AWuEo3ZQ (0:48)
          1.1 แนะนำลูปหลัก
          1.2 ความละเอียดของหน้าจอบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
          1.3 พิกัดบนแอป 2 มิติ
          1.4 รู้จักประเภทของภาพ ราสเตอร์กับเวคเตอร์
          1.5 ทำไมต้องใช้โฟโตช้อป
          1.6 ประโยชน์จากไฟล์ .psd
          1.7 ข้อจำกัดการใช้โฟโตช้อปกับอาษาเฟรมเวิร์ค
          1.8 UX/UI
2. UX/UI แรกกับอาษาเฟรมเวิร์ค
          2.1 การลงโปรแกรมอาษาเฟรมเวิร์ค https://youtu.be/2w_hbRcBg48 (2:44)
          2.2 UX/UI แรก https://youtu.be/JaU7UOiYESM (2:04)
          2.3 การส่งเกมไปยัง Device หรือ Emulator https://youtu.be/KSKHN65Zv4c (2:09)
            2.3.1 ตรวจสอบการเชื่อมต่อ Device กับ ARSA Framework https://youtu.be/T6Swdo0nA8w (0:58)
            2.3.2 การเข้าสู่โหมดนักพัฒนาของ Android https://youtu.be/bzzcuyvgH94 (1:44)
            2.3.3 การลง ADB Driver https://youtu.be/C0UWjkaQVcw (1:03)
          2.4 Deploy App to device or emulator https://youtu.be/fkQJ-bUm08A (4:54)
            2.4.1 Change the icon of Application https://youtu.be/NkNPSCyG6no (2.16)
            2.4.2 Change the splash screen of Application https://youtu.be/P_qTSD-Rbcs (2.17)
            2.4.3 Checking device with ARSA Framework https://youtu.be/T6Swdo0nA8w (0:58)
            2.4.4 Entering to Android developer mode https://youtu.be/bzzcuyvgH94 (1:44)
            2.4.5 Install ADB Driver (Optional) https://youtu.be/C0UWjkaQVcw (1:03)
3. การเล่นออดิโอและวีดีโอ
          3.1 เข้าใจหลักการไฟล์ออดิโอและวีดีโอ
          3.2 ไฟล์ออดิโอและวีดีโอที่รองรับ click
          3.3 การควบคุมออดิโอและวีดีโอ
            3.3.1 audio https://youtu.be/F3sE2DkLvZ4 (0:55)
            3.3.2 video https://youtu.be/lrQYIYMRc70 (1:00)
          3.4 การประยุกต์ใช้ออดิโอและวีดีโอร่วมกับเลเยอร์โฟโตช้อป
            3.4.1 audio isend https://youtu.be/30YybnHc1T4 (2:15)
            3.4.2 video isend https://youtu.be/z4vxXP-tzKg (2:08)
            3.4.2 video isend playat https://youtu.be/BqSvWtDPnug (3:07)
4. การใช้ตัวอักษร
          4.1 การใช้ตัวอักษร Build-in และ TypeTool https://youtu.be/xWIj8x6qvjc (2:46)
          4.2 การใช้ตัวอักษร TrueType https://youtu.be/6OM6ChzaOjE (2:53)
5. การเผยแพร่เกมขึ้นกูเกิ้ลเพล์สโตร์ 
          5.1 Publish App to Google Play Store. https://youtu.be/6HYnJOMVd04 (17:07)
          5.2 Update App to Google Play Store.  https://youtu.be/B5pkOBnU1N4 (7.43)
6. Website Link
          6.1 openurl https://youtu.be/8lZOsuVYrAY (4.12)
          6.2 openurl advanced https://youtu.be/7IWWX-nXXJo (8.33)
          6.3 openurl googlemap https://youtu.be/W8tGLFMT15A (4.06)
7. Phone Call https://youtu.be/W6FTlN0asqw (2.47)
8. Share Contents
          8.1 Share with text https://youtu.be/STx72Lcej9w (5.54)
          8.2 Share with screenshot https://youtu.be/9Ll6FJUmtSs (4.40)
9. Animate https://youtu.be/hWFwsed8I2k (13.50)
10. PSD Changing https://youtu.be/MSeTp3V-3Tw (27.33)

ผู้สอน
รองศาสตราจารย์ ดร. อาษา ตั้งจิตสมคิด
ที่ปรึกษาแผนกวิจัยและพัฒนาเกม ARSA Productions.

ประวัติผู้สอน
https://sarosworld.com/arsa

ARSA Framework official website and purchase redeem code packages.
www.arsa.ai

ติดต่อสอบถาม
sale@sarosworld.com

ทำความรู้จักอาษาเฟรมเวิร์คให้มากขึ้น Click

คอร์สออนไลน์อื่นๆที่น่าสนใจ Click