PipitBanglamphu

ต้นฉบับบทความ

แอปสุดคูล พิพิธบางลำพู 5G โดยนักศึกษาธรรมศาสตร์

บางลำพู

บางลำพู หากเอ่ยชื่อนี้หลายคนต้องคุ้นเคยและรู้จักกันไม่มากก็น้อยในนามของชุมชนที่มีมาตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ โดยในสมัยก่อนได้ชื่อมาจากในอดีตมีต้นลำพูอยู่เป็นจำนวนมาก เดิมทีเป็นชุมนุมและตลาดเล็กๆ มีวัดเก่าแก่ปรากฏอยู่ในพื้นที่มากมาย ก่อนจะพัฒนาเป็นแหล่งพำนักของบรรดาเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชบริพาร และประชาชนมาจากหลายเชื้อชาติที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยอยู่รวมกัน จนทำให้เกิดเป็นแหล่งอาชีพที่หลากหลายและกลายเป็นชุมชนในนามบางลำพูมาจนถึงปัจจุบัน

ref: https://th.wikipedia.org/wiki/พิพิธบางลำพู

พิพิธบางลำพู

ข้อมูลทุกอย่างของบางลำพูที่กล่าวไปข้างต้นได้ถูกรวบรมไว้ที่พิพิธบางลำพู พิพิธภัณฑ์ที่เปิดต้อนรับให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ โดยกรมธนารักษ์ ตั้งอยู่บนถนนพระอาทิตย์ ริมคลองบางลำพู ใกล้กับป้อมพระสุเมรุ
แต่ในโลกในยุค Digital Disruption ที่ทุกอย่างดูรวดเร็วและว่องไวไปเสียหมด เราอาจจะหาเวลาไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของจริงได้ไม่ง่ายนัก และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของทางภาครัฐในเรื่องของ Smart City, Smart Travel ที่ทุกสิ่งต้องเชิ่อมโยงถึงกันอย่างง่ายดายและรวดเร็วในยุค 5G ที่กำลังจะเข้ามา
ทางวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับพิพิธบางลำพู โดยกรมธนารักษ์และอาษาเฟรมเวิร์ค ได้เล็งเห็นถึงปัญหาจึงได้จัดทำแอปสุดคูลเพื่อบริการเพื่อนๆและประชาชนทุกคนให้สามารถเข้าถึงเนื้อหาของพิพิธบางลำพูได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าเป็น ข้อมูลต่างๆ นิทรรศการที่จัดแสดง ข่าวสาร การติดต่อ บทความ แผนที่ รวมไปถึงการจองเข้าชมได้อย่างง่ายดาย ผ่านแอปพลิเคชั่นดังกล่าว
นั่นแน่ ถ้าเพื่อนๆที่อ่านมาถึงตรงนี้คงอยากจะทราบถึงที่มาและข้อมูลต่างๆต่อไปแล้วใช่ไหม ถ้าใช่ตามกันมาเลย

บางลำพู

Banglamphu Application

คือการนำเสนอข้อมูลพิพิธภัณฑ์บางลำพูรูปแบบใหม่ ผ่านแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือสุดล้ำโดนนักศึกษาวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สร้างความน่าสนใจและเพิ่มประสบการณ์ผู้ใช้ผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าว ที่สามารถนำเสนอข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์บางลำพูได้อย่างครบถ้วนเพื่อให้พร้อมรับกับยุคดิจิตอล 5G

โปรเจกต์ Banglamphu application คือ การนำเสนอข้อมูลผ่านช่องทางยุคดิจิตอล โดยการเพิ่มเครื่องมือเทคโนโลยีมาเป็นตัวแปรสำคัญในการเผยแพร่ การนำนวัตกรรมแอปพลิเคชั่นมาประยุกต์ใช้ในการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้กลุ่มที่สนใจในการมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สามารถรับชมข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยแอปพลิเคชันนี้เป็นไอเดียของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนวัตกรรม หลักสูตรการจัดการมรดกวัฒนธรรม และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และเป็นโปรเจกต์ Startup ที่เรียนรู้ผ่าน ARSA Education Machine* ในรายวิชา HIM.496 การออกแบบอนิเมชั่นและสื่อดิจิตอล ของ ผศ.ดร.อาษา ตั้งจิตสมคิด ตำแหน่งอาจารย์ประจำหลักสูตร

ไอเดีย Banglamphu application สามารถตอบโจทย์กลุ่มนักท่องเที่ยวในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ทั้งการเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกรวดเร็ว รวมถึงที่ภาษาที่สามารถรองรับได้ ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ความเสถียรภาพของแอปพลิเคชันถูกรองรับโดย โปรแกรมARSA FRAMEWORK  ภายในแอปพลิเคชันมีข้อมูลหลายด้านมากมาย อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ นิทรรศการ มุมเรียนรู้ ข่าวสาร ช่องทางการจองเข้าชม และช่องทางการติดต่อ การพัฒนานวัตกรรมครั้งนี้ จะทำให้พิพิธภัณฑ์บางลำพูก้าวไปได้ไกลกว่าเดิม

*ARSA Education Machine (AEM) คือเครื่องจักรการศึกษาของอาษา สามารถ Disrupt การศึกษาแบบ Traditional ได้ในทุกสหวิทยาการเพื่อก่อให้เกิดโอกาสการสร้างรายได้ให้กับผู้เรียนในยุค 5G

start
menu
room
learn
contact
about

Download

โหลดแอปได้ที่ Google Play Store

https://play.google.com/store/apps/details?id=arsa.framework.PipitBanglamphu

Team Interview

team photo
“นัตตี้” ศุภณัฐ เหรียญวิทยากุล

“นัตตี้” ศุภณัฐ เหรียญวิทยากุล

หนึ่งในสมาชิกของทีมได้เล่าถึงหน้าที่ในการดำเนินงานโปรเจกต์และจุดเริ่มต้นในการกำเนิดโปรเจกต์ Banglamphu application ไว้ว่า “ผมรับหน้าที่เป็นคนทำแอปพลิเคชั่น คอยแก้ไขส่วนต่างๆของแอปพลิเคชันให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตามที่ได้ออกแบบร่วมกับพิพิธบางลำพู เพื่อความพึงพอใจของประชาชนและพิพิธบางลำพูมากที่สุด แน่นอนว่ามีความยาก ความเครียดสูงในงานนี้ แต่เพื่อประโยชน์ของประชาชนผู้ที่จะใช้แอปพลิเคชั่นในอนาคต ทำให้งานออกมาได้ด้วยดี และเป็นประสบการณ์ล้ำค่าที่หาไม่ได้ จุดเริ่มต้นในการสร้างโปรเจกต์เกิดจากแรงผลักดันของอาจารย์ อาษา ตั้งจิตสมคิด และความต้องการของตัวผมที่อยากเห็นพิพิธภัณฑ์มีความทันสมัยและน่าดึงดูดมากขึ้นกว่าเดิม”

“เกมส์” วุฒิวิทย์ เชิญตระกูลปพัฒน์

“เกมส์” วุฒิวิทย์ เชิญตระกูลปพัฒน์

สมาชิกอีกคนหนึ่งของทีมได้กล่าวถึงหน้าที่ และความในใจเกี่ยวกับโปรเจกต์ไว้ ความว่า “ผมรับหน้าที่ติดต่อประสานงาน ซึ่งต้องทำงานร่วมกับร่วมกับทางกลุ่มออกแบบรูปแบบแอพ ผมรู้สึกว่าในปัจจุบันสื่อสมัยใหม่มีประโยชน์และสามารถนำไปต่อยอดในหลายๆด้านได้ อีกทั้งยังเป็นช่องทางที่จะทำให้เกิดความยั่งยื่นให้แก่ข้อมูลต่างๆรวมไปถึงการนำไปใช้ในองค์กรต่างๆเพื่อให้เกิดผระโยชน์ที่สูงสุด”

“แป๊ะ” อติรุจ นุชหรั่ง

“แป๊ะ” อติรุจ  นุชหรั่ง

หนึ่งในสมาชิกอีกคนหนึ่งที่ร่วมแรงในการสร้างโปรเจกต์ Banglamphu application ได้กล่าวถึงบทบาทของตนไว้ ความว่า “ผมรับหน้าที่คิดค้นออกแบบในส่วนต่าง ๆของตัวแอปพลิเคชั่น “พิพิธบางลำพู” ซึ่งโดยส่วนตัวผมมีความคิดเห็นว่า เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมากในยุคปัจจุบัน ดังนั้นเราควรที่จะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่ผู้คนต่างต้องการความรวดเร็วและความสะดวกสบายมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราควรต้องมองสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เช่น การสร้างแอปพลิเคชั่นที่จะทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงสื่อได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นสื่อการเรียนรู้ สื่อเพื่อความเพลิดเพลิน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็สามารถเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยในการเข้าถึงข้อมูลที่เราต้องการได้ง่ายขึ้น”

“อาร์ม” กรวิชญ์ งามจินดาวงศ์

“อาร์ม” กรวิชญ์ งามจินดาวงศ์

อีกหนึ่งสมาชิกผู้มีส่วนร่วมในการสร้างฌปรเจกต์นี้ ได้กล่าวความในใจไว้ว่า “ผมรับหน้าที่เป็นคนเขียนบทความ คอลัมน์ต่างๆเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์บางลำภู ที่มาและความสำคัญเหตุใดจึงเลือกโครงการนี้ พร้อมทั้งรวบรวมบทสัมภาษณ์ของผู้คนในกลุ่ม และบุคคลที่เกี่ยวข้อง นำมาเผยแพร่ เพื่อหวังให้ผู้อ่านเห็นถึงความตั้งใจในการทำโครงการและสามารถนำโปรเจกต์ไปต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าให้ผู้คนรุ่นต่อไป”

“มิก” ธนพล ธัญญานุกูล

“มิก” ธนพล ธัญญานุกูล

ผู้ช่วยคนสำคัญ ได้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่และความรู้สึกในการทำโปรเจกต์ Banglamphu application ไว้ ความว่า ผมรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยทำApplication คอยแก้ไขปัญหาที่ทำให้การพัฒนาapplication เป็นไปลำบาก รวมถึงติดต่อประสานงานกับทางพิพิธบางลำพู ในการดำเนินการด้านต่างๆ ทั้งเรื่องเอกสารและตัว application รู้สึกว่าการทำแอปเป็นเรื่องที่ละเอียดและค่อนข้างใช้เวลามากพอสมควร และหวังว่าต่อไปภายภาคหน้าจะได้นำความรู้ที่ได้เรียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตต่อๆไป”

“ปาร์ค” พงษ์นรา ดิษฐวิเศษ

“ปาร์ค” พงษ์นรา ดิษฐวิเศษ

ได้แสดงความรู้สึกต่อการทำโปรเจกต์นี้ไว้ว่า ผมรับหน้าที่ฝ่ายประสานงานครับ หน้าที่หลักๆคือติดต่อประสานงานและดำเนินจัดการเอกสารโครงการ ผมรู้สึกว่าการทำแอปพลิเคชันเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดมาก ตัวอย่างเช่น แอปพลิเคชันพิพิธบางลำพูที่ทางกลุ่มทำขึ้นนั้นต้องใช้ความสามารถหลายด้านทั้งการออกแบบพัฒนาคิดcontentเนื้อหาหัวข้อภายในแอพ การประสานงานระหว่างกลุ่มและองค์กรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายล้วนต้องทำงานสัมพันธ์กัน ซึ่งทำให้ได้เข้าใจขั้นตอนกระบวนการสร้างแอปพลิเคชั่นที่เป็นสื่อใหม่ที่ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว และหวังว่าแอปพลิเคชันที่ทางกลุ่มจัดทำขึ้นจะเป็นสื่อใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ”

“มายด์” ธณญ สงวนผิว

“มายด์” ธณญ สงวนผิว

กล่าวถึงหน้าที่และความประทับใจในการทำงาน ความว่า “ผมรับหน้าที่ เป็นผู้ช่วยและคนทำรายงาน รู้สึกดีใจที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมมือกันระหว่างพิพิธบางลำพูกับทางวิทยาลัยนวัตกรรมในการทำแอพพลิเคชันบางลำพูขึ้นมา เพราะแอพพลิเคชันนี้สามารถช่วยให้ผู้ที่สนใจในกาเข้าชมหรือต้องการติดต่อกับพิพิธบางลำพูให้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หวังว่าผู้ที่ใช้แอพพลิเคชันพิพิธบางลำพูได้รับความาสะดวกสบายในการรับใช่และขอน้อมรับคำติชมต่างเพื่อกลับไปพัฒนาแอพพลิเคชันให้ดียิ่งขึ้น”

Video

วีดีโอเบื้องหลังการทำงาน Click รับชมได้ทันที

วีดีโอฟีดแบกจากการเรียนการสอนด้วย ARSA Education Machine

วีดีโอการทำงานแต่ละสัปดาห์ (vLog)

MOU

เอกสารที่สแกน
thumbnail
thumbnail (1)
thumbnail (2)
thumbnail (3)

ลิงก์ภาพเพื่อประชาสัมพันธ์

โหลดภาพต้นฉบับทั้งหมดในบทความนี้เพื่อการประชาสัมพันธ์

Research and Developent

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาแอปพลิเคชันพิพิธบางลําพูด้วยอาษาเฟรมเวิร์ค

Download

pdf
docx

development_Pipit_Banglamphu_with_ARSA_Framework1
S__5931013

Contact

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) โทรศัพท์ 02-623-5055-8