HIM800: Thesis

Chapters

(v007-2018_6_18, how to create thesis's chapter 3)

(v006-2018_6_17, chapter 3 procedure and thesis milestone S/2560)

(v005-2018_5_1, thesis defend procedure)

(v004-2018_4_5, thesis milestone)

(v003-2018_3_22, thesis procedure)

(v002-2017_12_6, Presentation template)

(v001-2017_11_20, spawn version)

http://sarosworld.com/thesis

กำหนดการส่งวิทยานิพนธ์ MCI เทอม 2 ปีการศึกษา S/2560
1. WIP3: บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานวิจัย ส่งวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2561
2. ให้นักศึกษาอัพงานขึ้นไปที่เพจก่อนเวลาเที่ยงคืนของวันที่กำหนด
3. ยื่นเอกสารแสดงความจํานงในการขอสอบเค้าโครงงวิทยานิพนธ์ (บทที่1-3) ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 (รายละเอียด)

เกณฑ์การให้คะแนน (เต็ม 6 หน่วยกิต) เทอม 2 ปีการศึกษา S/2560
1. WIP3: บทที่ 3 ต้องได้รับการประเมินว่าผ่านจากคณะกรรมการ 3 ท่านคือ 1.ประธานกรรมการสอบ 2.คณะกรรมการภายนอกวิทยาลัยฯ 3.อ.ที่ปรึกษา ให้คะแนน 6 หน่วยกิต

กำหนดการส่งวิทยานิพนธ์ MCI เทอม 1 ปีการศึกษา 2/2560
1. WIP1: บทที่ 1 บทนำ ส่งวันเสาร์ที่ 21 เมษายน 2561
2. WIP2: บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ส่งวันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม 2561
3. หัวหน้าห้องเปิดเพจกำหนดการเข้าถึงให้เป็นสาธารณะ (ไม่ต้องมีแอคเคาท์เฟสก็เข้าดูได้)
4. ให้นักศึกษาอัพงานขึ้นไปที่เพจในข้อ 3. ก่อนเวลาเที่ยงคืนของวันที่กำหนด

เกณฑ์การให้คะแนน (เต็ม 6 หน่วยกิต) เทอม 1 ปีการศึกษา 2/2560
1. WIP1: บทที่ 1 หากส่งได้ครบถ้วนถูกต้องตรงเวลา งานดี ไม่ก้อปใคร ให้คะแนน 3 หน่วยกิต
2. WIP2: บทที่ 2 หากส่งได้ครบถ้วนถูกต้องตรงเวลา งานดี ไม่ก้อปใคร ให้คะแนน 3 หน่วยกิต

สิ่งที่ต้องอัพมีดังต่อไปนี้
1. เอกสารวิจัยตาม WIP1 หรือ WIP2 เป็นไฟล์ .docx และ .pdf
2. เอกสารการนำเสนอ เป็นไฟล์ .pdf หรืออื่นๆ
3. คลิปการนำเสนอความยาวไม่เกิน 3 นาที
4. score checking board
score checking board (.pdf)
score checking board (.doc)

หมายเหตุ:
1. กำหนดการนี้เฉพาะนักศึกษาในที่ปรึกษาของอ.อาษา
2. คำตัดสินของอาจารย์ที่ปรึกษาถือเป็นสิ้นสุด

วิธีการใช้งาน template บทที่ 3
1. สิ่งที่ให้มานั้นเป็นเพียง template เท่านั้น มีไว้เพื่อเริ่มไอเดียเริ่มต้นว่าต้องเขียนบทที่ 3 อย่างไร ไม่สามารถใช้ได้ในกรณีนำมาคัดลอกและแก้ไขคีย์เวิร์ดบางคำ
2. ท่านต้องทราบก่อนว่าวิจัยที่ท่านเลือกเป็นประเภทใด เชิงปริมาณ, เชิงคุณภาพ, เชิงบูรณาการ (ปริมาณ+คุณภาพ), เชิงทดลอง ฯลฯ
3. เครื่องมือในการวิจัยมีทั้งแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ซึ่งทั้งสองอย่างมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน ท่านต้องออกแบบให้สอดคล้องและตอบโจทย์ในวัตถุประสงค์จากบทที่ 1 ทั้ง 2 ข้อของท่านได้
4. template บทที่ 3 นี้มีทั้งการเขียนแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ท่านต้องสังเคราะห์และคัดเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่งานวิจัยของท่านและนำมาเรียบเรียงใหม่เป็นถ้อยคำของท่านเอง
5. กรณีศึกษา

กรณีศึกษาที่ 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การ์ตูนเรื่อง Let’s & Go และรถ Tamiya Mini 4WD
2. เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อเรื่องของการ์ตูนเรื่อง  Let’s  &  Go  และคนไทยที่เล่นรถ Tamiya Mini 4WD

  งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ข้อแรกคือเพื่อศึกษาและวิเคราะห์การ์ตูนเรื่อง Let’s & Go และรถ Tamiya Mini 4WD เพราะฉะนั้นผู้วิจัยต้องทำการศึกษาทั้งการ์ตูนและรถทามิยา
ซึ่งสิ่งที่จะต้องศึกษาและนำมาสรุปคือการ์ตูนเรื่อง Let’s & Go ต้องระบุให้ชัดเจนว่าภาคไหน ตอนที่เท่าไหร่หรือจะศึกษาทุกตอน มีตัวละครกี่ตัว ใคร ทำอะไร มีคุณสมบัติเด่นอย่างไรและอื่นๆอีกมากมายที่จะสามารถศึกษาได้ แต่ถ้าทำแค่นี้จะถือว่าเป็นเพียงวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
ท่านต้องทำการวิเคราะห์เจาะลึกลงไปอีกเช่นสร้างกราฟความสัมพันธ์ของเส้นเรื่องที่ท่านได้สังเคราะห์ออกมาในแต่ละตอนหรือชาร์ทความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครในภาคนั้นๆ แล้วนำมาเขียนบรรยายด้วยหลักการที่สอดคล้องกับทฤษฎีที่ศึกษามาจากบทที่ 2 อาจบรรยายด้วยกราฟ ชาร์ทหรืออื่นๆตามแต่เหมาะสมกับสิ่งที่ท่านค้นพบ
เมื่อท่านค้นพบได้ว่าท่านต้องค้นหาอะไรในบทที่ 3 นี้เองจะเป็นการเขียนแค่วิธีดำเนินงานเท่านั้น (พูดง่ายๆแค่บอกทุกคนว่าท่านจะทำอะไรแบบเป็นขั้นตอน) แต่จะยังไม่มีผลการทดลอง (ผลการทดลองจะอยู่ในบทที่ 4) เช่น
3.1 ศึกษาและวิเคราะห์การ์ตูนเรื่อง Let’s & Go
  3.1.1 ผู้วิจัยทำเลือกการ์ตูนเรื่อง Let’s & Go ภาค x ตอนที่ x มาศึกษา
  3.1.2 ศึกษาและวิเคราะห์ตัวละคร xxx และสร้างเป็นกราฟหรือชาร์ทความสัมพันธ์ของตัวละครโดยใช้ทฤษฎี xxx
  3.1.3 ตามที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร ด้วยวิธีใด เครื่องมืออะไร (แบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์) และใช้ทฤษฎีอะไรมาประกอบ
3.2 ศึกษาและวิเคราะห์รถ Tamiya Mini 4WD
  3.2.1 ตามที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร ด้วยวิธีใด เครื่องมืออะไร (แบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์) และใช้ทฤษฎีอะไรมาประกอบ
  3.2.2 xxx
  3.2.3 xxx
3.3 การหาความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อเรื่องของการ์ตูนเรื่อง  Let’s  &  Go  และคนไทยที่เล่นรถ Tamiya Mini 4WD
  3.3.1 ตามที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาอะไร ด้วยวิธีใด เครื่องมืออะไร (แบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์) และใช้ทฤษฎีอะไรมาประกอบ
  3.3.2 xxx
  3.3.3 xxx
3.4 การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์ (IOC)
  3.4.1 อธิบายขั้นตอน...
  3.4.2 xxx
  3.4.3 xxx
จากนั้นมาเขียนสรุปก็เป็นอันจบบทที่ 3

กรณีศึกษาที่ 2
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1 เพื่อศึกษาถึงรูปแบบการตลาดของสื่อนิตยสารในยุค 4.0
2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลการทบต่อการบริหารของนิตยสารในยุค 4.0

  งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการกำหนดขอบเขตการศึกษาไว้แล้วนิตสารหัวต่างๆไว้แล้ว
โดยมีวัตถุประสงค์ข้อแรกคือเพื่อศึกษาถึงรูปแบบการตลาดของสื่อนิตยสารในยุค 4.0 และข้อสองคือศึกษาปัจจัยที่ส่งผลการทบต่อการบริหารของนิตยสารในยุค 4.0
สิ่งที่สำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้คือการสร้างคำถามในการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้คำตอบจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้บริหาร, ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรและกลุ่มลูกค้าผู้ซื้อโฆษณา
รูปแบบการตลาดของสื่อ, นิตยสารในยุค 4.0 คืออะไร เป็นอย่างไร อะไรคือปัจจัยที่ส่งผลการทบต่อการบริหารฯ และคำถามอื่นๆที่ผู้วิจัยต้องออกแบบเอง รวมถึงการระบุเหตุผลว่าคำถามนี้สร้างมาเพื่ออะไร หาคำตอบอะไร หากนำทฤษฎีจากบทที่ 2 มาโยงได้จะดีมาก
จากนั้นนำมาเขียนเป็นหัวข้อดังนี้
3.1 วิธีการวิจัย
3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  3.2.1 กลุ่มผู้บริหาร
  3.2.2 ผู้ปฏิบัติงานในองค์กร
  3.2.3 กลุ่มลูกค้าผู้ซื้อโฆษณา
3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์
3.4 การทดสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย IOC
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล จะวิเคราะห์อะไร อย่างไร ใช้ทฤษฎีอะไร
สรุปบทที่ 3... (เขียนเอง)
  หัวข้อข้างบนผู้วิจัยต้องเขียนรายละเอียดทุกอย่างให้ชัดเจน พูดง่ายๆว่าไม่ต้องมีท่านใครมาอ่านบทที่ 3 นี้ก็เข้าใจได้

กรณีศึกษาที่ 3
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์
2. เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค
3. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์

งานวิจัยนี้อาจยุบวัตถุประสงค์เหลือ 2 ข้อคือ
1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์
2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์
เพราะว่าเป็นวิจัยเชิงปริมาณจะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือจะสามารถตอบคำถามปัจจัยอะไรบ้างที่มีลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์
เมื่อได้ปัจจัยมาแล้วให้นำอินฟอร์เมชันเหล่านั้นมาวิเคราะห์ว่าปัจจัยที่ได้มาจากผู้บริโภคทั้ง 450 ตัวอย่างสิ่งใดมีผลหรือมีผลทางอ้อมหรือไม่มีผลเลยในการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์
ตรงจุดนี้เองจะทำให้งานวิจัยนี้เซ็กซี่และน่าสนใจเพราะหากผู้วิจัยสามารถสังเคราะห์ไปได้จนถึง วันที่1-30 วันจันทร์ถึงอาทิตย์ ช่วงเวลาเป็นวินาที การอยู่เป็นกลุ่มหรือเดี่ยว การใส่เสื้อผ้า เครื่องประดับ ฯลฯ
พฤติกรรมต่างๆเหล่านั้นจะมีผลผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์หรือไม่ อย่างไร แล้วแสดงออกมาเป็นกราฟหรือชาร์ทโดยใช้สถิติเบื้องต้นก็สามารถทำได้
*โดยหัวข้อวิจัยนี้น่าจะสามารถใช้ประสิทธิภาพของ template ที่ให้ไว้ได้อย่างมากที่สุด

กรณีศึกษาที่ 4
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อัตลักษณ์ของกลุ่มผู้เล่นเกม ROV ที่มีอายุระหว่าง15 – 25 ปี
งานวิจัยนี้อาจแจกแจงวัตถุประสงค์เป็น 2 ข้อคือ
1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เกม ROV ในประเทศไทย
2. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์อัตลักษณ์ของกลุ่มผู้เล่นเกม ROV ที่มีอายุระหว่าง 15 – 25 ปี

  งานวิจัยชิ้นนี้ค่อนข้างคล้ายกับกรณีศึกษาที่ 1 กล่าวคือต้องศึกษาและวิเคราะห์เกม ROV ให้กระจ่างและชัดเจนเพื่อแยกความเป็นวรรณกรรมออกจากผลการทดลองให้มากที่สุด
ซึ่งสิ่งที่จะต้องศึกษาคือเกม ROV คืออะไร MOBA เป็นอย่างไร ทำไมถึงออกมาเป็น ROV ต้นกำเนิด วิธีการเล่นเกม กฎ กติกา ไอเทม ฮีโร่ ฯลฯ คือสิ่งที่ผู้วิจัยต้องศึกษาและบรรยายออกมาเป็นเป็นภาษาทางการ
จากนั้นเมื่อกำหนดสิ่งที่จะศึกษาจากเกม ROV แล้วให้กำหนดสิ่งที่จะวิเคราะห์ออกมาเช่น วิธีการเล่นเกม กฎ กติกา สิ่งที่เป็นจุดแข็ง สิ่งที่เป็นช่องโหว่ คืออะไร
ไอเท็มต่างๆมีทั้งหมดกี่ชนิด มีคุณสมบัติอะไรบ้าง แต่ถ้าตอบแค่นี้จะเป็นแค่วรรณกรรมถ้าต้องการจะนำมาใส่ในบทที่ 3 ต้องวิเคราะห์ถึงการใช้ไอเท็มชนิดนี้เหมาะสมเมื่อไหร่ ใช้ตอนไหน ถ้าใช้ก่อน-หลังจะเกิดผลกระทบอย่างไร เป็นต้น
ซึ่งข้อมูลในเกมนี้มีมากมายผู้วิจัยจึงควรที่จะเลือกสิ่งที่เด่นจริงๆมาเขียนและวิเคราะห์
  วิจัยเรื่องนี้น่าจะเป็นเชิงปริมาณเพื่อที่จะตอบคำถามในวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ซึ่งการตั้งคำถามต้องคำนึงถึงการหาข้อมูลคำว่าอัตลักษณ์จากกลุ่มตัวอย่างว่าพวกเขามีอัตลักษณ์อย่างไร (ไม่ใช่อัตลักษณ์ของเกมนะ)
ตรงนี้ผู้วิจัยต้องทำให้น่าสนใจเนื่องจากจะเกิดข้อคำถามที่ว่าอัตลักษณ์ของกลุ่มผู้เล่นเกม ROV รู้ไปทำไม รู้แล้วได้อะไร ซึ่งผมว่าน่าจะออกไปในแนวการตลาดเพราะรู้แล้วสามารถนำไปใช้เจาะกลุ่มเป้าหมายและสร้างแผนธุรกิจต่อไปได้
  ส่วนการเขียนบทที่ 3 ขอให้ดูจากกรณีศึกษาที่ 1 และ กรณีศึกษาที่ 3 เพื่อใช้ประกอบการออกแบบวิธีดำเนินงานในครั้งนี้

การเขียนวิทยานิพนธ์
ให้จัดรูปเล่มให้เป็นไปตามรูปแบบของมธ. Thesis Template

วิทยานิพนธ์มีทั้งหมด 5 บทดังต่อไปนี้

บทคัดย่อ
งานวิจัย<ชื่อหัวข้อ>ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) <วัตถุประสงค์ข้อที่ 1> (2)  <วัตถุประสงค์ข้อที่ 2>
ผู้วิจัยได้เลือกวิธีวิจัย<ปริมาณ, คุณภาพหรือบูรณาการปริมาณ+คุณภาพ> โดยกิจกรรมทั้งหมด 5 ขั้นตอนคือ (1) วิธีวิจัย
(2) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (4) การทดสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  (5) การวิเคราะห์ข้อมูล
มีการระบุกลุ่มตัวอย่างคือ <ระบุกลุ่มตัวอย่าง> มีการใช้เครื่องมือคือแบบสอบถามที่หาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์
IOC  จากการตรวจสอบผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่าแบบสอบถามทั้งหมด <x> ข้อ ข้อที่มีค่า IOC มากกว่า 0.5 จำนวน <x> ข้อ
และมีค่า IOC น้อยกว่า 0.5 จำนวน <x> ข้อ
 ผลการศึกษาพบว่า <ถ้าทำบทที่4เสร็จแล้วค่อยมาใส่ ถ้ายังตัดออก>
คำสำคัญ: <เลือกคำจากชื่อหัวข้อมาใส่ 3 คำใช้ , คั่นไว้>

Abstract (เขียนเองนะ)
Keyword:

บทที่ 1 บทนำ
    1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
        (1) มีทั้งหมด 3 พารากราฟ
        (2) พารากราฟที่ 1 จะพูดในเชิงภาพรวมของหัวข้องานวิจัยที่ต้องการทำเช่นสภาพในปัจจุบัน, ความเป็นอยู่, สิ่งแวดล้อมหรือพฤติกรรมของผู้คน (3-5 บรรทัด)
        (3) พารากราฟที่ 2 นำนโยบายหรือแผนงานจากภาครัฐ, องค์กรที่เป็นที่ยอมรับในสังคมระดับชาติ-นานาชาติ มาเสริมเพื่อให้เกิดความชัดเจนในงานวิจัยชิ้นนี้ว่าไม่ได้ซุย*มา (3-5 บรรทัด)
        (4) พารากราฟที่ 3 ให้เขียนถึงวิจัยนี้คืออะไร เหตุผลว่าทำการวิจัยไปทำไม เพื่ออะไร (เพื่อแก้ปัญหา,เพื่อศึกษาปัญหา,เพื่อหาบางสิ่งหรือเพื่อเสนอแนะแนวทางหรืออื่นๆ) (3-5 บรรทัด)
        (5) พอจบ (4) ให้ต่อท้ายด้วยคำว่า จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยจึงเลือกทำการวิจัย<ชื่อหัวข้อ>   
    1.2 กรอบแนวคิดในการวิจัย
        ผมแนะนำให้เขียนเป็น 3 ส่วนและเป็นแผนภาพคือ


        (1) Input คือปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการจะค้นหาเช่น เกมคอมพิวเตอร์ชื่อ<ชื่อเกม>, รถมินิ4WD
        (2) Process คือชื่องานวิจัยของคุณเอง
        (3) Output คือสิ่งได้รับหลังจากผ่านข้อ (2)
    1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
        ผมขอให้มี 2 ข้อ
        (1) เพื่อ<ศึกษา,วิเคราะห์และออกแบบ><หัวข้องานวิจัย>
        (2) เพื่อหา<ความพึงพอใจ,อัตตลักษณ์,แนวทางการแก้ปัญหา><หัวข้องานวิจัย>   
    1.4 สมมติฐานของการวิจัย (ถ้ามี)
        <สิ่งที่ศึกษา>มีประสิทธิภาพสูงกว่าหรือเทียบเท่า<เกณฑ์มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ>
    1.5 ขอบเขตของการวิจัย
        ให้เขียนเป็นข้อๆไปเช่น
        (1) ศึกษาอะไร คน สัตว์ สิ่งของ ระบุโดยละเอียด
        (2) จะวิจัยถึงแค่ไหน ต้องบอกให้ชัดเจนเพราะข้อนี้จะเป็นการปกป้องนักวิจัยจากการดีเฟนท์
        (3) ประชากร
        (3) กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีอะไรคัดเลือก
        (4) ตัวแปรที่ใช้ศึกษา ตัวแปรต้นต้น(คือระบบหลัก) ตัวแปรตาม(คือค่าที่ได้จากระบบหลัก)
        (5) ใช้เกณฑ์มาตรฐานอะไรมาเป็นดัชนีชี้วัดเช่น ISO9001, NSF เป็นต้น (ถ้ามี)
    1.6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
        ให้เขียนเป็นข้อๆไป
    1.7 นิยามคำศัพท์
        ให้เขียนเป็นข้อๆไป
    1.8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
        ให้เขียนเป็นข้อๆไป

บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    2.1 เกริ่นนำ 2-3 บรรทัด
    2.2 วิธีการเขียนทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีขั้นตอนการทำดังนี้
        (1) เลือกงานวิจัยของผู้ที่ทำหัวข้อคล้ายคลึงกัน เน้นว่าต้องเกี่ยวข้องเท่านั้น
            TIP: เลือกงานเล่มวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์แล้วในระดับป.โทหรือเอกจะดีมาก
        (2) นำทฤษฎีข้อ (1) มาสรุปเป็นคำพูดของตนเอง 2-3 บรรทัด
        (3) อธิบาย 1-2 บรรทัดว่าข้อ (2) เกี่ยวข้องกับงานของวิจัยในครั้งนี้อย่างไร
        (4) หากยังมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอีกให้โดยทำซ้ำข้อ (1)-(3)
    2.3 สรุปภาพรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2-3 บรรทัด


บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานวิจัย
    วิธีการดําเนินงานวิจัย <ชื่อหัวข้อ> ผู้วิจัยได้กําหนดขั้นตอนของการดําเนินงานออกเป็น 5 ขั้นตอน มีรายละเอียดดังนี้
3.1  วิธีวิจัย
  ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดย การศึกษาเอกสาร การวิเคราะห์
<(อันนี้สำหรับผู้ที่เป็นวิจัยเชิงคุณภาพถ้าเป็นเชิงปริมาณให้ข้ามไป) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)>
และการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีแบบแผน (Sami-Structured Interview) มีการกำหนดโครงสร้างในการสัมภาษณ์
โดยออกแบบเครื่องมือโดยใช้ <แบบสอบถาม> <แบบสัมภาษณ์> เพื่อตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ที่มีการหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ของแบบสอบถาม (IOC)
โดยเครื่องมือที่ใช้ในสัมภาษณ์ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ
วิธีดังกล่าวช่วยให้ได้ข้อมูลตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย มีวิธีการเก็บข้อมูลโดยนำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยไปสัมภาษณ์ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำข้อมูลมาสรุปและวิเคราะห์

3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง <ประชากรและกลุ่มตัวอย่างต้องเลือกที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างสะดวกและเป็นไปได้ในช่วงเวลาที่ทำการวิจัยของผู้วิจัยด้วย>
            จากวัตถุประสงค์ของการศึกษา ผู้วิจัยจึงใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ <ให้ระบุทฤษฎีการเลือกกลุ่มตัวอย่างมาพร้อมทั้งอธิบายสาเหตุทำไมจึงเลือกทฤษฎีนี้มาใช้ >
3.2.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ <ใคร> กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน <450 คน ในกรณีเป็นเชิงปริมาณ> <จำนวน 8 คนในกรณีเป็นเชิงคุณภาพ> <หรือถ้าทั้ง 2 อย่างก็ให้ใส่มาทั้งหมด>
3.2.2 อธิบายเกณฑ์ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ ให้อธิบาย 3 ข้อขึ้นไป
    (1) เลือกเป็นนิยสารที่มียอด like มากกว่า 500k
    (2) เลือกการ์ตูนที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1M
    (3) เลือกเกมที่มียอดผู้เล่นต่อวันมากกว่า 1K
3.2.3 อธิบายกลุ่มตัวอย่างสอดคล้องและตอบคำถามอย่างไรในวัตถุประสงค์ข้อใด

3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    เนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้ใช้วิธีวิจัย<เชิงคุณภาพ, ปริมาณหรือเชิงบรูณาการ(รวมคุณภาพและปริมาณเข้าไว้ด้วยกัน)> ผู้วิจัยจึงเลือกใช้เครื่องมือคือแบบสอบถามในการวิจัยครั้งนี้
3.3.1 ตัวแปรต้น ประกอบด้วย
    (1)  ข้อมูลบุคคล
        - เพศ
        - อายุ
        - ระดับการศึกษา
        - ระยะเวลาการทำงาน ฯลฯ
        - รายได้
    (2) การรับรู้ต่อหัวข้องานวิจัย เช่นเคยเล่นเกมหรือรู้จัก <หัวข้องานวิจัย> มาก่อนหรือไม่
    (3) เคยอ่านนิตยสารหรือมีประสบการณ์ใช้งานสื่อดิจิทัลมาก่อนหรือไม่
    (4) <ถ้ามีเพิ่มเติม ผู้วิจัยสามารถออกแบบได้เองแต่ต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์>
3.3.2 ตัวแปรตาม ประกอบด้วยพฤติกรรมการใช้หรือสิ่งที่ต้องการจะหาคำตอบจากวัตถุประสงค์
    (1) ด้านความพึงพอใจ
    (2) ด้านผลกระทบ
    (3) ด้านประสิทธิภาพฯ
    (4) <ถ้ามีเพิ่มเติม ผู้วิจัยสามารถออกแบบได้เองแต่ต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์>
3.3.3 แบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์
    เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยได้ออกแบบโดยการบูรณาการกับการทบทวนวรรณกรรมให้เข้ากับบริบทและกลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาโดยมีการแบ่งแบบสอบถามออกเป็น <x> ส่วนดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามประกอบไปด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำงาน รายได้ เป็นคำถามกำหนดตัวเลือกจำนวน <x> ข้อ
ส่วนที่ 2  แบบสอบถาม <นำวัตถุประสงค์มาเติม> มีข้อคำถามทั้งหมด <x> ข้อ ประกอบด้วย <x> ด้านคือ <ออกแบบได้เองไม่จำเป็นต้องทำตาม template ทุกประการ>
    (1) ด้านความพึงพอใจ จำนวน <x> ข้อ
    (2) ด้านผลกระทบ จำนวน <x> ข้อ
    (3) ด้านประสิทธิภาพ จำนวน <x> ข้อ

3.4 การทดสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
            เนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้มีการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องนำแบบสัมภาษณ์มาทดสอบเพื่อหาความเที่ยงตรง 
3.4.1 การทดสอบความเที่ยงตรง (Validity)
                 (1) นำแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบเนื้อหา ความเหมาะสมของการใช้ภาษา
ความเป็นกลางไม่ชี้นำความคิดของผู้ถูกสัมภาษณ์และความครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่ศึกษาหรือไม่ เพื่อนำมาแก้ไข
ทดสอบแบบสัมภาษณ์
    (2) การหาค่า IOC (Index of Item-Objective Congruence) เป็นการหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์
โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านจากข้อ 3.1 เพื่อตรวจสอบเพื่อหาค่า Validity หรือความเที่ยงตรงของเครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์
หลังจากนั้นผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งผลการวัดค่าดัชนีความสอดคล้อง
(IOC) ของคำถามนั้นจะเลือกคำถามที่มีค่าอยู่ระหว่าง 0.5 ถึง 1.00 ซึ่งถือว่ามีความเที่ยงตรงของเนื้อหาในแต่ละด้านและครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้
<ดูการหาค่า IOC ได้จากลิงก์ด้านล่าง>
http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=656&articlegroup_id=146

3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล <เพิ่มเติมได้ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละคน>
             ผู้วิจัยได้เลือกวิธีการในการวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูล ดังนี้ 
3.5.1 การตรวจสอบและจัดเตรียมข้อมูลโดยตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ว่า มีครบถ้วนตามที่ต้องการหรือไม่ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดเรียงแยกตามกลุ่มของผู้ถูกสัมภาษณ์
3.5.2  การจำแนกข้อมูลโดยการจำแนกข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ตามความเหมาะสมกับ
ข้อมูล โดยใช้ประสบการณ์ของผู้วิจัย ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการจำแนกข้อมูลออกเป็นชนิดต่างๆตามแนวคิดและทฤษฏีที่นำมาประกอบการศึกษา
3.5.3 การประมวลผลข้อมูล
  ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น <โดยใช้โปรแกรม SPSS หรือ Excel ใช้หรือไม่ก็ได้> ดังนี้ 
    3.5.3.1  ค่าเฉลี่ยและร้อยละ สำหรับการบรรยายข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบุคคล ซึ่ง ประกอบด้วย อายุ เพศ สถานภาพสมรส อาชีพ ระดับการศึกษา ฯลฯ
    3.5.3.2  อธิบายความแตกต่างค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของ <สิ่งที่ต้องการหาคำตอบเช่นความพึงพอใจ ความเห็นต่างๆของกลุ่มตัวอย่างที่สามารถระบุเป็นเชิงปริมาณได้ อาจใช้ t-test for dependent sample เข้าร่วมได้ตามแต่เหมาะสมกับหัวข้อวิจัย>
    3.5.3.3  อธิบายความแตกต่างค่าเฉลี่ย ร้อยละ ของค่าอื่นๆ <ถ้ามี>
3.5.4 การวิเคราะห์สรุปข้อมูล โดยใช้วิธีการ <วิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic  Induction)> <หรือหาทฤษฎีอื่นๆหามาเติมตามแต่เหมาะสม>
เพื่อตีความและสร้างข้อสรุป โดยการพิจารณาจากข้อมูลเพื่อหาลักษณะร่วมของข้อมูลย่อยหลายๆชุด มาสรุปเป็นข้อมูลใหญ่และนำซึ่งการหาตอบที่สอดคล้องกับ<นำวัตถุประสงค์มาใส่ทั้ง 2 ข้อ>

  สรุปวิธีการดำเนินงานวิจัย <ชื่อหัวข้อ> ผู้วิจัยได้กําหนดขั้นตอนของการดําเนินงานออกเป็น 5 ขั้นตอน 3.1 วิธีวิจัย 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.4 การทดสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
โดยจะใช้เครื่องมือคือแบบสอบถามนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างและทำการวิเคราะห์หาผลการวิจัยตามที่ได้ออกแบบไว้เป็นลำดับต่อไป

ภาคผนวกจัดตามลิงก์ด้านล่างนี้นะ
http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/8247/11/Appendix.pdf

ภาคผนวก ก รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
(1)  คำนำหน้า ชื่อ-นามสกุล
      ตําแหน่ง <ในมหาวิทยาลัย บริษัทหรือองค์การ>
      สังกัด <ชื่อมหาวิทยาลัย บริษัทหรือองค์การ>
(2)  คำนำหน้า ชื่อ-นามสกุล
      ตําแหน่ง <ในมหาวิทยาลัย บริษัทหรือองค์การ>
      สังกัด <ชื่อมหาวิทยาลัย บริษัทหรือองค์การ>
(3)  คำนำหน้า ชื่อ-นามสกุล
      ตําแหน่ง <ในมหาวิทยาลัย บริษัทหรือองค์การ>
      สังกัด <ชื่อมหาวิทยาลัย บริษัทหรือองค์การ>
<หากเป็นตำแหน่งที่คนทั่วไปรู้จักจะดีมาก หากมีตำแหน่งทาวิชาการเช่น ผศ. รศ ศ. ดร.ก็ดีแต่ถ้าหาไม่ได้ก็พยายามหาคนที่มีตำแหน่งในองค์กรที่น่าเชื่อถือไว้>

ภาคผนวก ข ตารางแสดงค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 
  - มี 3 ตารางให้จัดตามลิงก์นี้ ดูตารางที่ 1 นะครับ
http://www.tungsong.com/abstract/abstract5/4a.pdf

ภาคผนวก ค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
<แนบแบบสอบถามเข้ามาเลย>

บทที่ 4 ผลการดำเนินงานวิจัย
    เกริ่นนำ 2-3 บรรทัด
    4.1 ผลการทดลองจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1.
    4.2 ผลการทดลองจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 2.
    4.3 สรุปผลการดำเนินงานวิจัย


บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
    เกริ่นนำ 2-3 บรรทัด
    5.1 สรุป<หัวข้อ>
    5.3 อภิปรายผล
    5.4 ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ภาคผนวก

ขั้นตอนนำเสนอการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์
0. นำเอกสารและเข้าไปทำการอธิบายกับกรรมการก่อนนำเสนอ 1 อาทิตย์
1.แนะนำตัวเองและหัวข้องานวิจัย
2.อธิบายงานวิจัยนี้คืออะไร ทำการวิจัยไปทำไม เพื่ออะไร มีวัตถุประสงค์อะไร มีประโยชน์อย่างไร และได้เอาท์พุตคืออะไร เอาท์คัมคืออะไร ไม่ทำวิจัยนี้จะเกิดอะไร และที่สำคัญต้องเน้นให้เห็นว่างานวิจัยนี้มีคุณค่าและเหมาะสมต่อการรับปริญญาระดับบัณฑิตศึกษานี้
3.เปรียบเทียบงานวิจัยฉบับอื่นกับของเราว่าเหมือน-แตกต่าง ดีกว่า-ด้อยกว่าอย่างไรอย่างชัดเจน
4.มีขั้นตอนอย่างไร อธิบายตั้งแต่การเลือกวิธีวิจัยเช่น เชิงทดลอง เชิงพรรณนา เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ ทำไมถึงเลือก เลือกเพราะอะไร เลือกวิธีอื่นได้ไหม ให้เหตุผลที่คนทั่วไปฟังแล้วเข้าใจได้ทันที
  4.1อธิบายการเลือกกลุ่มเป้าหมาย
  4.2อธิบายการสร้างเครื่องมือ
  4.3อธิบายการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ใช้ทฤษฎีอะไร มีผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ ถ้ามีมีกี่คน
  4.4อธิบายกำหนดการที่จะนำกระบวนการทั้งหมดในบทที่3ไปทดลองเพื่อจะนำไปเขียนรายงานต่อในบทที่4และ5 สามารถเปิด official website มาอธิบายได้
  4.4การอธิบายในข้อ4นี้ต้องนำทฤษฎีจากบทที่2มาร่วมด้วย เช่นเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ทฤษฎีของนาย...เพราะ... เป็นต้น
5.สรุปการนำเสนอดังนี้
  5.1วิจัยนี้ชื่อ
  5.2มีวัตถุประสงค์คือ
  5.3เป็นการวิจัยเชิง...มีวิธีดำเนินการดังนี้ เลือกกลุ่มตัวอย่าง สร้างเครื่องมือ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
  5.4ตารางดำเนินงานในครั้งต่อไป
 

ขั้นตอนนำเสนอการป้องกันวิทยานิพนธ์
0. นำเอกสารและเข้าไปทำการอธิบายกับกรรมการก่อนนำเสนอ 1 อาทิตย์
1. แนะนำตัวเองและหัวข้องานวิจัย (1 นาที)
2. แจ้งผลการทดลองในบทที่ 4 โดยให้นำเสนอเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ (ไม่เกิน 10 นาที)
3. สรุปและอภิปรายผล (6 นาที)
  3.1 การสรุปมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ (ไม่เกิน 3 นาที)
    (1) ชื่อวิทยานิพนธ์
    (2) วัตถุประสงค์
    (3) วิธีดำเนินงาน (ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุกข้อ)
    (4) ผลการทดลอง (ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุกข้อ)
  3.2 อภิปรายผล สอดคล้องหรือเห็นต่างจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในบทที่ 2 (ไม่เกิน 3 นาที)
4. ข้อเสนอแนะในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งต่อไป เช่นนำงานวิจันชิ้นนี้ไปต่อยอดในระดับปริญญาเอกหรือเชิงพาณิชย์ (1 นาที)
5. จบการนำเสนอ

 

Milestones

1. สร้างกลุ่มหรือเพจบนเฟสบุ๊กและเปิดเป็นสาธารณะ (คนที่ไม่มีบัญชีสามารถดูได้) เพื่อใช้อัพงานตามกำหนดการ
2. บทที่ 1-3 ฉบับสมบูรณ์ที่มีค่า ioc ส่งภายในวันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2560 ก่อนเที่ยงคืน
3. ปริ้นบทที่ 1-3 เข้าเล่มเป็นสันเกลียวจำนวน 3 เล่มยื่นให้กับทางเจ้าหน้าที่ ส่งภายในวันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2560
4. อัดคลิปนำเสนองานวิจัยบทที่ 1-3 ส่งภายในวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2560 ก่อนเที่ยงคืน
5. รอฟังกำหนดการสอบเค้าโครงจากทางวิทยาลัยและดำเนินการสอบตามวัน-เวลาดังกล่าว+แก้ไขเอกสารตามเม้นของกรรมการ
6. ทำบทที่ 4 ส่งภายในวันพุธที่ 31 มกราคม 2561 ก่อนเที่ยงคืน
7. ทำบทที่ 5 ส่งภายในวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 ก่อนเที่ยงคืน
8. งานวิจัยฉบับสมบูรณ์บทที่ 1-5  ส่งภายในวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ก่อนเที่ยงคืน
9. ทำ paper ความยาวไม่เกิน 5 หน้า A4 จัดรูปแบบตามวารสารหรืองานประชุมวิชาการ ส่งภายในวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 ก่อนเที่ยงคืน
  9.1
วารสารวิชาการที่อยู่บนฐานข้อมูล TCI จากสกอ.
10. อัดคลิปนำเสนองานวิจัยงานวิจัยฉบับสมบูรณ์บทที่ 1-5 ส่งภายในวันพุธที่ 7 มีนาคม 2561 ก่อนเที่ยงคืน
11. ยื่นเอกสารนัดสอบปากเปล่า+Defense ทั้งเล่ม (หลัง 120 วันหลังจากสอบเค้าโครงผ่าน) *วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม 2561
  *วันที่ยื่นขอสอบปากเปล่าขึ้นอยู่กับวันที่สอบเค้าโครงผ่านแล้ว 120 วัน หากสอบเค้าโครงผ่านเร็วก็จะสามารถสอบปากเปล่าได้เร็ว
12. ส่งเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์(แก้ไขแล้ว)และยื่นหลักฐานการตีพิมพ์หรือนำเสนองานประชุมวิชาการ หลังสอบปากเปล่า 15 วัน
13. ยื่นคำร้องขอจบการศึกษา+ปิด Job